ฟิล์มกรองแสงรถยนต์หรือ ฟิล์มติดรถยนต์ ที่ทราบโดยพื้นฐานกันว่ามีคุณสมบัติลดความสว่างของแสงเข้ามาผ่านในรถ ลดรังสี UV และช่วยลดความร้อนภายในห้องโดยสารเป็นอย่างดี สัมผัสได้จากรถยนต์คันไหนที่ไม่ได้ติดฟิล์ม ภายในรถจะร้อนระอุและแอร์จะทำงานหนักเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยฟิล์มกรองแสงในเมืองไทยมีหลายประเภท โดยแบ่งออกได้ ดังนี้
1.แบบธรรมดาย้อมสี
ฟิล์มชนิดนี้เป็นฟิล์มธรรมดาที่มีคุณสมบัติทำให้แสงผ่านเข้ามาในรถยนต์อ่อนลงหรือลดความเข้มข้น โดยที่ไม่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีต่างๆจากแสงแดด ทำให้ไม่มีคุณสมบัติที่จะลดความร้อนหรือแสงที่มีอันตรายใดๆ มีราคาถูก เนื้อฟิล์มจะเปลี่ยนสภาพเสื่อมเป็นสีม่วงเร็ว และมีอายุการใช้งานที่สั้น โดยเฉลี่ยประมาณ 3-5 ปี
2.แบบลดความร้อน
มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีต่างๆ จากแสงแดด ด้วยคุณสมบัติพิเศษเนื้อฟิล์มถูกเคลือบด้วยโลหะพิเศษ สามารถกันรังสีที่เป็นอันตรายต่างๆได้ แถมยังกันความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันสามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้
– ฟิล์มเคลือบโลหะ หรือ ฟิล์มปรอท
เป็นฟิล์มสำหรับลดความร้อนภายในห้องโดยสารโดยเฉพาะ บางตัวสามารถกันได้มากถึง 90 % วิธีสังเกตรถยนต์ที่ติดฟิล์มปรอท จะมองตอนกลางวันจากภายนอกเข้าไปที่รถยนต์ จะพบว่า กระจกมีลักษณะคล้ายสายรุ้งสีต่างๆ แต่ไม่สามารถมองเข้าไปในตัวห้องโดยสารได้เลย
– พิล์มนิรภัย
ชื่อก็บอกอยุ่ว่านิรภัย คือการป้องกันการแตกร้าวของกระจก และมีแบบทนความร้อน กับไม่ทันความร้อน มีความหนาอยู่ที่ 4 MIL ขึ้นไป แต่ก่อนนิยมเป็นอย่างมากที่จะใช้ในอาคารตึกสูงๆ แต่ปัจจุบันนำมาใช้ประกอบกับหน้าจอมือถือ และ กระจกหน้ารถยนต์ กันเพิ่มมากยิ่งขึ้น
– ฟิล์มอินฟราเรด
ฟิล์มแบบพิเศษที่มีความสามารถไปตัดรังสีอินฟราเรดได้ ทำให้คุณสมบัติหลักกันความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่มีราคาที่สูงตามขึ้นไป
– ฟิล์มใสประเภทนาโน
เป็นฟิล์มแบบใหม่ แต่ด้วยลักษณะที่ใส แต่ลดความร้อนในห้องโดยสารได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญแสงส่องผ่านมากถึง 60 % หรืออาจมากกว่านี้ ไม่มีเงาสะท้อน ที่สำคัญมีราคาแพง
ทั้งนี้การใช้เลือกใช้ฟิล์มจริงๆ ควรคำนึงถึง งบประมาณ และความจำเป็นของคนขับเป็นหลัก ใช้รถยนต์บ่อยแค่ไหน ขับรถยนต์ช่วงไหนเป็นหลักเพราะ ราคาของฟิล์มติดรถยนต์มีความแตกต่างกันในเรื่องราคา แบบถูกๆ ก็หลักร้อย แบบดีๆ ก็โดดไปเป็นหลายหมื่นกันเลยทีเดียว
Published by